Catholic Education Council of Thailand

หัวข้อ 6 10

6. บูรณาการองค์ความรู้และคุณค่าขององค์ความรู้เข้ากับคุณค่า พระวรสารจนเป็นหนึ่งเดียว

การศึกษาคาทอลิกมีแรงบันดาลใจจากคุณค่าพระวรสาร โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความรักความจริง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและความยุติธรรม (มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 47) ดังนั้น การศึกษาต้องไม่เป็นเพียงแต่การทำให้นักเรียนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และคุณค่าขององค์ความรู้เท่านั้น แต่ยังต้องทำให้นักเรียนสามารถบูรณาการองค์ความรู้และคุณค่าเข้ากับคุณค่าพระวรสาร จนสามารถค้นพบความหมายและคุณค่าของชีวิตตนได้ (โรงเรียนคาทอลิกข้อ 49)

 

การบูรณาการนี้ยังช่วยปลูกฝังด้านจริยธรรมเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดความรู้อันเป็นการกระตุ้นพลวัตรของจิตวิญญาณและช่วยให้นักเรียนเกิดอิสรภาพเชิงศีลธรรม และสามารถตัดสินใจเลือกและทำอย่างอิสระและสอดคล้องกับมโนธรรมที่ถูกหล่อหลอมขึ้นตามคุณค่าพระวรสาร

 

ทั้งนี้ คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ ที่ได้รวบรวมและนำเสนอในการสัมมนาอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ได้แก่ ความเชื่อศรัทธา ความจริง การไตร่ตรอง/ภาวนา มโนธรรม/วิจารณญาณอิสรภาพ ความยินดี ความเคารพ/ศักดิ์ศรี ความสุภาพถ่อมตน ความซื่อตรง ความเรียบง่าย ความรักเมตตา ความกตัญญูรู้คุณ การงาน การรับใช้ ความยุติธรรม สันติ/การคืนดี อภัย ความเป็นหนึ่ง การพิศเพ่งสิ่งสร้าง และความหวัง

 

7. มีหลักสูตรที่เสนอภาพองค์รวมของความเป็นมนุษย์เพื่อให้เข้าถึงคุณค่าที่มีบูรณาการการศึกษาคาทอลิกตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า‘ ‘ความรู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา และมุมมองชีวิต’’ หลักสูตรและแผนการเรียนรู้ของการศึกษาคาทอลิกต้องให้ภาพที่เป็นองค์รวมอย่างชัดเจนและเพียงพอ โดยมีจุดหมายปลายทางที่นักเรียนจะได้เรียนรู้และเข้าถึงคุณค่าที่แท้จริงของสาระวิชาการที่บูรณาการกับคุณค่า พระวรสารสาระวิชาและคุณค่าที่ได้มีการบูรณาการกับคุณค่าพระวรสาร (มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 57-61) มีแนวทางเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

วิชา คุณค่าที่มีบูรณาการ

1. สังคมศึกษา – เข้าใจและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และการมีชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างยุติธรรมและสันติ

2. ประวัติศาสตร์ - แสวงหาความจริงจากประวัติของสังคมมนุษย์อย่างเป็นองค์รวม จนเกิดเป็นแนวทางในการสร้างมโนธรรมของตน

3. วิทยาศาสตร์ – ค้นพบและเข้าใจกฎของธรรมชาติที่พระเจ้าสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของมนุษย์และสังคมที่ยั่งยืน

4. ศิลปกรรม/ วรรณกรรม - พัฒนาสำนึกทางสุนทรีภาพ ด้วยการพิศเพ่งถึงความงาม และระเบียบอันเป็นนิรันดร์ของธรรมชาติ

5. คณิตศาสตร์ - เรียนรู้ตรรกะและระเบียบวิธีในการแสวงหาความจริงบนพื้นฐานของการคิดด้วยสติปัญญาอย่างมีเหตุผลและมีระเบียบแบบแผน

6. ปรัชญา - เรียนรู้กรอบความคิดที􀃉เป็นระเบียบ เพื่อเลือกตอบคำถามที่มีความหมายและและแสดงถึงความเกี่ยวพันกันของมนุษย์ โลก จักรวาลและพระเจ้ายิ่งกว่านั้น การศึกษาคาทอลิกเน้นการทำงานแบบสหวิทยาการที่นำวิชาต่างๆ มาประสานซึ่งกันและกัน ซึ่งจะให้ผลในเชิงบวก เนื่องจากมีปัญหาและหัวข้อบางประการซึ่งการพิจารณาในวงจำกัดเพียงวิชาหนึ่ง วิชาใดไม่สามารถกระทำได้โดยง่าย การทำงานในลักษณะนี้ควรจะพิจารณารวมเอาประเด็นทางหลักศาสนาเข้าไว้ด้วย เพราะประเด็นทางหลักศาสนามักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเมื่อมีการพิจารณาหัวข้อเกี่ยวกับมนุษย์ ครอบครัว สังคม หรือประวัติศาสตร์ (มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 64)

 

8. มีกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการไตร่ตรอง

การไตร่ตรอง (Reflection) เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งของกระบวนการการศึกษาคาทอลิกเพราะจะทำให้เกิดความสำนึกเชิงวิพากษ์ในการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้เกิดการไตร่ตรองจึงควรมีการตั้งคำถามอย่างสม่ำเสมอ ไม่เพียงแต่คำถาม ‘อะไร’ และ ‘อย่างไร’ แต่รวมถึง ‘ทำไม’ ด้วย เพื่อชี้ให้เห็นและเจาะลึกถึงผลลัพธ์ เกิดการตรวจสอบ และตีความข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ (มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 108) อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่เข้าถึงคุณค่าและความหมายถึงระดับจิตวิญญาณการไตร่ตรองด้วยคำถามที่ดีช่วยให้นักเรียนมีสำนึกเชิงวิพากษ์ในการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง และรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณ แทนที่จะยอมรับข้อเท็จจริงใดๆ โดยไม่ลืมหูลืมตารวมทั้งนำสู่การสัมผัสสัจธรรมในระดับจิตใจและจิตวิญญาณ

 

9. มีครูเป็นแบบอย่าง ผู้เอื้อ ให้เกิดการเรียนรู้ และเพื่อนร่วมทางชีวิตการศึกษาคาทอลิกเรียกร้องให้ครูใช้ชีวิตเป็นประจักษ์พยานที่นักเรียนสัมผัสได้(โรงเรียนคาทอลิก ข้อ 8) กล่าวคือ เป็นต้นแบบในการประพฤติปฎิบัติที่ดี ปฏิบัติในสิ่งที่สอน เป็นตัวอย่างในการใฝ่เรียนรู้อยู่เสมอ รวมทั้งเป็นผู้ที่รัก และสื่อสารความจริงที่จะให้นักเรียนเห็นคุณค่าของความจริงในตัวของมันเอง

ในขณะเดียวกัน ครูมีหน้าที่ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีและเหมาะสมให้แก่นักเรียน ครูพึงวางแผนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความสามารถ และความต้องการของนักเรียนแต่ละคน ครูต้องให้กำลังใจ กระตุ้น ให้คำแนะนำช่วยเหลือ ตลอดจนตักเตือนอย่างเป็นมิตร เพื่อให้เกิดผลทั้งทางวิชาการและทางศีลธรรม และที่สุด ครูภาวนาให้แก่นักเรียนแต่ละคน (มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 100)

 

ครูพึงใส่ใจในการพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาความรู้ จิตวิทยาในการจัดการเรียนการสอนและให้คำแนะนำแก่นักเรียน ตลอดจนพัฒนาจิตใจและจิตวิญญาณของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เปิดรับแรงบันดาลใจจากพระจิตเจ้า และพระพรของพระองค์ คณะครูร่วมกันเป็นประจักษ์พยานถึงการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างร่วมอุดมการณ์ ภาวนาด้วยกัน สามัคคีรับผิดชอบ เสียสละและอุทิศตน

 

10. มีความเป็ นชุมชน (Community) และเสริมสร้างจิตวิถีแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน(Spirituality of Communion)

ความเป็นชุมชนเป็นหัวใจสถานศึกษาคาทอลิกและการให้การศึกษาอบรมด้วยวิถีจิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน และเพื่อวิถีจิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันเป็นเป้าหมายทีสำคัญยิ่งของการศึกษาคาทอลิกอันนำสู่การสร้างอาณาจักรของพระเจ้า(เทียบ มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 11)

 

บรรยากาศทางการศึกษาของโรงเรียนคาทอลิกอยู่ที่คุณภาพของความสัมพันธ์ในมิติต่างๆอันได้แก่ความสัมพันธ์กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันของกายและจิตในความเป็นมนุษย์แท้ความสัมพันธ์กับพระผู้สร้าง กับเพื่อนมนุษย์ และกับ สิ่งสร้างทั้งปวง โรงเรียนคาทอลิกส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ (Community Building) นักเรียนเรียนรู้ที่จะเป็นผู้มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณบนพื้นฐานของความเชื่อ และด้วยจิตตารมณ์ของความรักและอิสรภาพ เติบโตร่วมกับผู้อื่นในชุมชน เอื้ออาทรต่อผู้อื่น จากแบบอย่างของความเป็นชุมชนของครูและบุคลากรในโรงเรียน และจากการสร้างบรรยากาศเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล มิติความเป็นชุมชนนี้ มิได้เป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นลักษณะเฉพาะและเป็นคุณสมบัติที่ซึมซับอยู่และบ่งบอกได้ในทุกขณะของการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา

 

บทสรุป

การศึกษาคาทอลิกเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยชุมชนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากจิตตารมณ์ของพระเยซูคริสต์ พระวรสารของพระเยซูคริสต์ที่ให้เรารักพระเจ้าและรักเพื่อนมนุษย์เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเอื้ออาทร ซึ่งแสดงออกด้วยสัมพันธภาพอันดีในหมู่โรงเรียนคาทอลิกด้วยกัน และกับโรงเรียนอื่นๆการศึกษาคาทอลิกต้องการกระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนปรารถนาที่จะเรียนรู้ เพื่อที่จะเข้าใจและรักในความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ โลก และจักรวาล อันนำสู่การอุทิศตนรับใช้ผู้อื่น และทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น การสอนต่างๆ ไม่เป็นเพียงแต่ทำให้เกิดการรับความรู้อย่างผิวเผิน แต่ทำให้เข้าใจในคุณค่าและค้นพบความจริงอีกด้วย การศึกษาคาทอลิกจึงให้ความสำคัญกับกรอบแนวคิดเชิงอุปนัย เพราะจะทำให้นักเรียนเข้าใจและเข้าถึงองค์ความรู้และคุณค่าอย่างเป็นองค์รวม การให้ความสำคัญกับความเป็นองค์รวมมีความสำคัญมากเพราะจะทำให้นักเรียนสามารถมองและตีความประสบการณ์ของตนจากทุกแง่ ทุกมุมการศึกษาคาทอลิกต้องการปลุกสติสัมปชัญญะของนักเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนวิเคราะห์ไตร่ตรองข้อเท็จจริง และความรู้ต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ จนสามารถแยกแยะสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่เป็นจริงออกจากสิ่งตรงกันข้าม ด้วยมโนธรรมที่ได้รับการปลูกฝังและหล่อหลอมด้วยคุณค่าพระวรสารที่ถูกบูรณาการในหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน กระบวนการศึกษาคาทอลิกจึงเน้นให้นักเรียนไตร่ตรองประสบการณ์ของตนด้วยคุณค่าพระวรสาร จนมีความสามารถตัดสินใจเลือกและปฎิบัติด้วยมโนธรรมที่ถูกต้องและเที่ยงตรง และมีจิตวิญญาณที่แสวงหาสัจธรรมการศึกษาคาทอลิกส่งเสริมให้นักเรียนยอมรับที่จะเสียสละและเพียรทนในการทำงาน ตามความสามารถ และตามกระแสเรียกของตน การศึกษาคาทอลิกมีนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และต้องให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนตลอดจนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ เพราะความเป็นชุมชนที่มีวิถีจิตที่ลึกซึ่งเป็นหัวใจของการศึกษาคาทอลิกการศึกษาคาทอลิกจะเป็นจริงได้โดยคณะครูผู้ร่วมกันใช้ชีวิตเป็นประจักษ์พยาน เป็นชุมชนที่มีความลึกซึ่งในวิถีจิต เป็นแบบอย่างที่ดีและสร้างสรรค์ ครูแต่ละคนนอกจากเป็นผู้เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ ครูยังเป็นเพื่อนร่วมทางชีวิตของนักเรียน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่มีระหว่างบุคคล และความเป็นชุมชนที่ก้าวเดินในหนทางสู่ความจริง ความดี และความงามด้วยกันด้วยการจัดการศึกษาแบบคาทอลิกนี้ โรงเรียนคาทอลิกจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและครบถ้วนบริบูรณ์แก่เด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาเขาเหล่านั้นโดยไม่จำกัดความเชื่อทางศาสนาในโรงเรียนคาทอลิก ข่าวดีของพระคริสต์ถูกแสดงให้เห็นประจักษ์ด้วย

- การเป็นชุมชนแห่งความเชื่อ รับใช้ ภาวนา และโมทนาคุณพระเป็นเจ้า

- การพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลให้บรรลุถึงศักยภาพของเขา ในบรรยากาศแห่งความปีติยินดี อิสรภาพ ความเคารพซึ่งกันและกัน ความท้าทาย ความร่วมมือร่วมใจ และความรื่นเริง

- การสร้างเสริมชีวิตของนักเรียนให้ครบครัน ทั้งด้านสติปัญญา ร่างกาย จิตวิญญาณศีลธรรม สังคม และอารมณ์

- การส่งเสริมจิตตารมณ์แห่งความรัก ความยุติธรรมในสังคม ความตระหนักรู้ในความเป็นไปของโลก และเข้าอกเข้าใจผู้อื่น อันจะนำไปสู่การแสวงหาและร่วมมือกับผู้อื่นอย่างเป็นรูปธรรม

- วัฒนธรรมแห่งความอดกลั่น ซึ่งยอมรับ เคารพ ส่งเสริม รับ ฟัง แสวงหาความเข้าใจร่วมกัน ไว้วางใจ พร้อมที่จะคืนดี สมานฉันท์ และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ในท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายทางอัตลักษณ์ของแต่ละคน และ

- การเตรียมนักเรียนให้สามารถที่จะดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าและมีความหมาย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อส่วนรวม

 

Link เพื่อแชร์ : https://bit.ly/3ktFpV0


ที่มา : หนังสือก้าวไปข้างหน้าด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก (หน้า33-38)

 

สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย(CECT)

www.catholic-education.or.th

 

ข่าวสารจากเลขาธิการฯ

การประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทาง (25-04-67)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 09.30-12.00 น. การประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทาง (คณะกรรมการบริหารโครงการ) โดย บาทหลวงไพรัช ศรีประเสริฐ ผู้รับผิดชอบโครงการและเลขาธิการกรรมาธิการฝ่ายสังคม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยประชุมร่วมกันทั้ง onsite & online เพื่อการขับเคลื่อนงานในงวดที่ 2 ระหว่างวันที่...

โต๊ะจิตตาธิการฯ

จิตวิถีฟรังซิสแห่งซาลส์ ของนักการศึกษาคาทอลิก
จิตวิถีฟรังซิสแห่งซาลส์ ของนักการศึกษาคาทอลิก โรงเรียนสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารและจัดพิมพ์เป็น booklet ขนาด A5 ได้เลย <เอกสาร>

คณะกรรมการอำนวยการ

ประชุมเตรียม โครงการ Mission Possible (25-เม.ย.67)
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทยประชุมเตรียมโครงการ Mission Possible “เยาวชนก้าวเดินไปด้วยกันบนเส้นทางใหม่เพื่อเป็นความหวังของโลก” พระศาสนจักรคาทอลิก ภายใต้การนําของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้ประชาคมโลกก้าวไปด้วยกันในการเผชิญกับปัญหาร้ายแรงต่าง ๆ ของโลกใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการมองปัญหาสังคมในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย จากข้อมูลของ FABC 50 และหาทางแก้ไขปัญหาในมุมมองของพวกเขาเป็นการก้าวเดินไปกับเราเพื่อโลกที่ดีกว่าเดิม วัตถุประสงค์ 1. เยาวชนในสถานศึกษาคาทอลิกได้รับทราบถึงการประชุม Synod รับทราบถึงปัญหาและความท้าทายต่างๆ ในสังคม และมีโอกาสในการนําเสนอความคิดแก้ไขบางปัญหาดังกล่าวที่พบเห็นจนนําสู่การปฏิบัติได้จริง 2. เยาวชนได้เรียนรู้กระบวนการทํางานร่วมกัน และเข้าถึงปัญหาอย่างลึกซึ้งมากขึ้น 3....

คณะกรรมาธิการฝ่ายธรรมทูตและการศึกษาคาทอลิก

การประชุมคณะกรรมาธิการฝ่ายธรรมทูตและการศึกษาคาทอลิก(25-04-67)
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 09.30-12.00 น. ณ ห้องอภิบาล โรงเรียนเซนต์โยเซฟ...

คณะกรรมการบริหาร

ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2567 (22-ม.ค.67)
วันจันทร์ที่ 22 มกราคม 2566 สภาการศึกษาคาทอลิกฯ จัดประชุมคณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2567 เวลา 10.00-12.00 น. พระคุณเจ้าวีระเดช ใจเสรี ประธานสภาการศึกษาคาทอลิกฯ นำภาวนาและเปิดประชุม คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม เลขาธิการสภาการศึกษาคาทอลิกฯ นำประชุม คณะกรรมการร่วมประชุม 10 ท่าน เพื่อรับทราบ -หลักสูตรคริสต์ศาสนาฉบับปรับปรุง - สมณสาส์น เลาดาเต เดอุม (Laudate Deum)...

สมาคมสโมสรลูกเสือรัตนโกสินทร์

การเสวนาเรื่อง
งานชุมนุมลูกเสือรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 10วันที่ 4 - 8 ธันวาคม ค.ศ. 2023 ณ...

สมาคมครูโรงเรียนคาทอลิกแห่งประเทศไทย

อบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ และการเปลี่ยนแปลง” (02-03-67)
เมื่อวันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 8.00 - 16.00 น. สมาคมครูโรงเรียนคาทอลิกแห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์พัฒนาจิตวิญญาณ และภาวะผู้นำเซเวียร์ ( SLDC ) Xavier Spiritual and Leadership Development Center จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ และการเปลี่ยนแปลง” โดยครูในสถานศึกษาเป็น ผู้ขับเคลื่อน การเรียนการสอน การทำงานกับผู้เรียน ซึ่งต้องสร้างแรงจูงใจ...

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก

ข่าวประชาสัมพันธ์ การอบรมเตรียมให้ความรู้ก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
ขอเชิญเข้าร่วมการอบรมเตรียมให้ความรู้ก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567 เรื่อง ขับเคลื่อนพันธสัญญาเรื่องการศึกษาด้วยการเรียนรู้โดยไตร่ตรองปฏิบัติ ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย วันที่ 6 พฤษภาคม 2567 Online ผ่านระบบ Zoom ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย กำหนดจัดอบรม Online เพื่อเตรียมเปิดปีการศึกษา โดย อาจารย์สุมิตรา พงศธร และ ดร.อนุพันธ์ กิจนิจชีวะ ซึ่งสาระจะเป็นการกระตุ้นเตือนถึงบทบาทหน้าที่ของครูโรงเรียนคาทอลิกในลักษณะองค์รวม โดยมีการเรียนรู้โดยไตร่ตรองปฏิบัติเป็นแกนหลักบนพื้นฐานของ Global Compact on...

ฝ่ายวิชาการ

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ศิลปะ ดนตรี นิทานและการเล่น เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF”
ฝ่ายวิชาการ สภาการศึกษาคาทอลิกฯ จัดอบรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ศิลปะ ดนตรี นิทานและการเล่น เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF” วันที่ 8-9 พฤษภาคม 2566 เวลา 8.30 - 16.00 น. ณ ศาลาไมเกิ้ลฮอลล์ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล บ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม มีผู้เข้าร่วม 30 โรงเรียน รวม 106...

E-Book หนังสือสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

0001jpg

อาร์ชบิชอปอันตน วีรเดช ใจเสรี
ประธานสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

Fr CECT

Gospel Vsjpg

 

ล่าสุดS 15786011

Poster สั่งซื้อคริสต์ 2024

2.Poster สั่งซื้อจริยะ 2024

BG 01

GCE Youtube2

ร่วมกันมองให้ไกล

1651822497272

รูปหนังสือสภาjpg

Youtube Logo

Facebook Logo

หน่วยงานสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกฯ

สถิติ (เริ่ม 01/01/2564)

1.png6.png5.png3.png6.png8.png4.png
Today1149
Yesterday1542
This week5495
This month18080
Total1653684

Who Is Online

1
Online

Friday, 26 April 2024 15:12

สภาการศึกษาคาทอลิกฯ - Video Content!

More Videos - สภาการศึกษาคาทอลิกฯ