Catholic Education Council of Thailand

บทที่9

บทที่ 9 คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ

สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก

คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน ดังที่มีบันทึกในพระคัมภีร์ ตอนที่มีชื่อเรียกว่า “พระวรสาร” ซึ่งแปลว่า“ข่าวดี” คำว่า “ข่าวดี” หมายถึงข่าวดีแห่งความรอดพ้น ของมนุษย์จากทุกข์ (อิสยาห์ 61:1) (ลูกา4:16-18) (อิสยาห์ 35:4-6) (ลูกา 7:22) และข่าวดีแห่งความรักของพระเจ้าผู้รักมนุษย์ จนกระทัง􀃉ประทานพระบุตรของพระองค์มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อไขแสดงพระองค์ และแสดงพระธรรมแก่มนุษย์ และทำการกอบกู้มนุษย์ให้พ้นจากทุกข์ อัศจรรย์ต่างๆ พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่กู้มนุษย์ให้รอดพ้นจากบาป และทรงกลับคืนพระชนมชีพเพื่อบันดาลให้มนุษย์ได้รับชีวิตนิรันดร (ยอห์น 3:16)

คุณค่าที่ 1 ความเชื่อเป็นพื้นฐานของทุกคุณค่า

คุณค่าที่ 2-10 คุณค่าที่เป็นหน้าที่ต่อพระเจ้าและต่อตนเอง

คุณค่าที่ 11 ความรักเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของทุกคุณค่า

คุณค่าที่ 12-20 คุณค่าที่เป็นหน้าที่ต่อผู้อื่นและสิ่งสร้าง

คุณค่าที่ 21 ความหวังเป็นความมั่นคงของทุกคุณค่า

 

1. ความเชื่อศรัทธา (Faith)

ความเชื่อศรัทธาหมายถึง ความเชื่อศรัทธาในพระเจ้า (มาระโก 11:22) ความเชื่อในความเป็นจริงที่อยู่เหนือสิ่งที่เราจับต้องมองเห็น ความเชื่อในความเป็นจริงของจิตวิญญาณและในมิติทางศาสนาของชีวิต พระเยซูสอนว่า หากเรามีความเชื่อศรัทธา อัศจรรย์จะเกิดขึ้นในชีวิตของเรา (ลูกา17:19) (มัทธิว 11:23) หากเรามีความเชื่อศรัทธา เราจะได้รับความรอดพ้นจากบาป (มาระโก 2:5)และทุกข์ (ลูกา 7:50) เราต้อง มีความเชื่อศรัทธาเมื่อเราภาวนา (มาระโก 11:24) และเมื่อเราอยู่ในวิกฤต (มาระโก 4:39-40) ความเชื่อศรัทธาเป็นพื้นฐานของคุณค่าพระวรสารอื่นๆ ทั้งหมด

 

2. ความจริง (Truth)

พระเยซูตรัสว่าพระองค์คือ “หนทาง ความจริง และชีวิต” (ยอห์น 14:6) ชีวิตของเราเป็นการแสวงหา ความจริง ความจริงของโลก ของชีวิต และของมนุษย์ พระองค์สอนเราว่า ความจริงทำให้เราเป็นไท (ยอห์น 8:32) บุคคลที่ไม่ซื่อตรงคือบุตรแห่งปีศาจผู้มีแต่ความเท็จ (ยอห์น 8:44)

 

3. การไตร่ตรอง/ภาวนา (Reflection / Prayer)

พระเยซูสอนให้เราไตร่ตรองอยู่เสมอ พระองค์สอนให้เรารู้คุณค่าของความสงบ (ลูกา 4:42)และการไตร่ตรองเพื่อหาความหมายที่ลึกซึ้งของปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต (ลูกา 12:27;2:51) การไตร่ตรองนำไปสู่การเข้าใจ (มัทธิว 13:23) ยอมรับ และปฏิบัติคุณค่าจนเกิดผลมากมาย(มาระโก 4:20) พระเยซูภาวนาอยู่เสมอ (ลูกา 6:12; 22:39) พระองค์ภาวนาเป็นพิเศษ เมื่อประกอบภารกิจสำคัญ (ลูกา 5:16) เมื่อมีการประจญ (มัทธิว 4:1) (ลูกา 22:46) และเมื่อมีวิกฤติของชีวิต(มัทธิว 26:36) พระองค์สอนเรา ให้ภาวนาอยู่เสมอ (ลูกา 18:1-7)

 

4. มโนธรรม / วิจารณญาณ / ความกล้าหาญเชิงศีลธรรม (Conscience / Discernment /

Moral Courage)

พระเยซูสอนให้เรามีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในการรักษาศีลธรรม (มัทธิว 5:30; 18:8)มีมโนธรรมเที่ยงตรง วิจารณญาณแยกแยะชั่วดี รู้จักตัดสินใจเลือกทางแห่งความดีงาม และยึดมั่นในทางแห่งความดี (ลูกา 18:8) แม้ในสถานการณ์ที่เราถูกคุกคาม (มัทธิว 5:10; 24:10, 12-13)

 

5. อิสรภาพ (Freedom)

พระเยซูสอนว่า “ความจริงทำให้เราเป็นอิสระ” (ยอห์น 8:32) ซึ่งหมายถึงความเป็นอิสระจากการเป็นทาสของบาป เราปฏิบัติหน้าที่ของเราด้วยความเชื่อมั่นด้วยความรัก มิใช่ด้วยความกลัว(ยอห์น 14: 27) (ลูกา 5:10)

 

6. ความยินดี (Joy)

ความยินดีเป็นผลของประสบการณ์การสัมผัสความรักของพระเจ้า (ยอห์น 16:22) พระเยซูสอนให้เรามีใจเบิกบานอยู่เสมอ เพราะชื่อของเราถูกจารึกไว้ในสวรรค์แล้ว( ลูกา 10:20) ไม่มีสิ่งใดทำให้เราหวั่นไหว หรือหวาดกลัว( ยอห์น 14:1) เพราะพระเจ้ารักเรา (ลูกา 12:7) (ยอห์น 17:13)

 

7. ความเคารพ / ศักดิ์ศรี (Respect / Dignity)

มนุษย์ถูกสร้างตามพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้า มนุษย์เป็นลูกของพระเจ้า (ลูกา 20:36)ดังนั้น ชีวิต มนุษย์จึงมีความศักดิ์สิทธิ์พระเยซูสอนให้เราเคารพศักดิ์ศรีของตนเอง และของกันและกัน เราแต่ละคนมีค่ามากในสายพระเนตรของพระเจ้า (มัทธิว 10:29-31; 18:10)

 

8. ความสุภาพถ่อมตน (Humility)

พระเยซูเชื้อเชิญให้เราเลียนแบบพระองค์ “เรียนจากเรา เพราะเรามีใจอ่อนโยนและสุภาพ” (มัทธิว 11:29) คำสอนหลักที่พระเยซูเน้นย้ำบ่อยครั้งคือ ผู้ใดถ่อมตัวลง ผู้นั้นจะได้รับการยกย่องให้สูงขึ้น (ลูกา 14:11) ผู้ใดมีใจสุภาพอ่อนโยนผู้นั้นย่อมเป็นสุข( มัทธิว 5:5) ผู้ใดมีใจสุภาพเหมือนเด็กเล็กๆ ผู้นั้นจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ในพระอาณาจักรสวรรค์(มัทธิว 18:4)

 

9. ความซื่อตรง (Honesty)

พระเยซูคาดหวังให้เราเป็น “มนุษย์ใหม่” (ยอห์น 1:13) มนุษย์ที่ซื่อตรง (มัทธิว 5:37) ชอบธรรม (ยอห์น 1:47) ประพฤติชอบในสายพระเนตรของพระเจ้า (ลูกา 16:15) ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมไม่หน้าซื่อใจคด (มัทธิว 23:13-15) ไม่คดโกงหรือเบียดเบียนผู้อื่น (มัทธิว 15:8; 23:13-15) ผู้ซื่อตรงต้องเริ่มจากการซื่อสัตย์ ในสิ่งเล็กน้อย( ลูกา 16:10) ผู้ซื่อตรงจะเกิดผลมากมาย (ลูกา 8:15)

 

10. ความเรียบง่าย / ความพอเพียง (Simplicity / Sufficiency)

พระเยซูเจริญชีวิตที่เรียบง่าย คลุกคลีกับประชาชนคนสามัญ ทุกคนเข้าหาพระองค์ได้แม้แต่เด็กๆ (ลูกา 18:16) พระองค์สอนเรามิให้กังวลใจในเครื่องแต่งกาย ในอาหารการกิน เพราะพระเจ้าดูแลชีวิตของเราทุกคน (ลูกา 12:24-27) (มัทธิว 6:32) สุนัขจิ้งจอกยังมีโพรง และนกในอากาศยังมีรังแต่พระองค์ไม่มีที่ที่จะวางศีรษะ (มัทธิว 8:20)

 

11. ความรัก (Love)

พระเยซูสอนให้เรามีความรักแท้ ความรักที่สูงส่งกว่าความรักใคร่ เป็นความรักที่ไม่เห็นแก่ตัว ไม่หวังสิ่งตอบแทน ความรักที่มอบแก่ทุกคน ความรักที่เอาชนะอารมณ์ความรู้สึกของตนจนกระทั้ง สามารถ รักแม้แต่คนที่เป็นอริกับเรา( มัทธิว 5:43-45) หลักปฏิบัติพื้นฐานของการแสดงความรัก คือ “ปฏิบัติต่อผู้อื่น ดังที่เราอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา” (มัทธิว 22:39) หลักปฏิบัติขั้นสูงของการแสดงความรัก คือ “รักกันและกันเหมือนที่พระเจ้าทรงรักเรา” (ยอห์น 15:12) ความรักเป็นคุณค่าที่สำคัญที่สุด เป็นจุดมุ่งหมายที่คุณค่าพระวรสารอื่นๆทั้งหมดนำไปสู่

 

12. เมตตา (Compassion)

พระเยซูเจริญชีวิตที่เป็นแบบอย่างของความเมตตา พระองค์เมตตาต่อทุกคน คนเจ็บป่วย(มัทธิว 20: 34) คนตกทุกข์ได้ยาก (ลูกา 7:13) และคนด้อยโอกาส (มัทธิว 9:36) พระองค์ร่วมทุกข์กับคนที่มีความทุกข์ เข้าถึงความรู้สึกและความต้องการของผู้อื้น( ยอห์น 11:33) พระองค์สอนเราให้รู้จักพระเจ้าผู้เป็น พระบิดาผู้เมตตา( ลูกา 15:20) และสอนให้เราเป็นผู้เมตตา เหมือนพระบิดาทรงเป็นผู้เมตตา (ลูกา 6:36) พระองค์เล่านิทานเปรียบเทียบที่น่าฟังเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใเมตตา (ลูกา10:33)

 

13. ความกตัญญูรู้คุณ (Gratitude)

พระเยซูตรัสชมเชยผู้ที่ได้รับการรักษาจากโรคภัย ที่กลับมาขอบคุณพระองค์(ลูกา 17:16-17) พระเยซูขอบคุณพระเจ้าในทุกขณะ (มัทธิว 15:36) (ลูกา 22:19) (ยอห์น 11:41) และสอนให้เรารู้จักกตัญญูรู้คุณต่อพระเจ้า และต่อทุกคนที่มีบุญคุณต่อเรา (ลูกา 2:51)

 

14. การงาน / หน้าที่ (Work / Duty)

พระเยซูสอนให้เราเห็นคุณค่าของการทำงาน ผู้ที่ทำงานก็สมควรได้รับค่าตอบแทน( ลูกา10:7) พระองค์จะประทานรางวัลแก่ทุกคนตามการทำงานของแต่ละคน (มัทธิว 16:27) พระองค์ทำงานอยู่ เสมอเหมือนพระบิดาทำงานอยู่เสมอ( ยอห์น 5:17) พระองค์ยังสอนว่าการทำงานเป็นการถวายเกียรติ แด่พระเจ้า (มัทธิว 5:16) (ยอห์น 15:8; 17:4) เราพึงระลึกอยู่เสมอว่า เราต้องทำงานเพื่ออาหารที่คงอยู่ เป็นชีวิตนิรันดร์ (ยอห์น 6:27) “จงทำงานหนักเพื่อเข้าประตูแคบสู่พระราชัยสวรรค์”(ลูกา 13:24)

 

15. การรับใช้ (Service)

พระเยซูเสด็จมาในโลกเพื่อมารับใช้มิใช่มาเพื่อได้รับการรับใช้ พระองค์สอนสานุศิษย์ว่าพระองค์ผู้เป็นพระเจ้ายังรับใช้พวกเขา (ยอห์น 13:14) ดังนั้น พวกเขาต้องรับใช้ผู้อื่นเช่นเดียวกันผู้ใหญ่กว่าจะต้องรับใช้ผู้น้อยกว่า( ลูกา 22:26)

 

16. ความยุติธรรม (Justice)

พระเยซูสอนให้เราแสวงหาความยุติธรรมให้กับผู้อื่นก่อนให้กับตนเอง( ยอห์น 8:7) ความยุติธรรมเรียกร้องให้เราเปิดใจกว้างต่อความต้องการของผู้อื่น( ลูกา 18:3) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ด้อยกว่าเรา (ลูกา 16:19-21)

 

17. สันติ / การคืนดี (Peace / Reconciliation)

พระเยซูตรัสว่า พระองค์มอบสันติของพระองค์แก่เรา (ยอห์น 14:27) สันติเป็นผลมาจากความยุติธรรม เราสามารถนำสันติสู่สังคมที่เราอยู่โดยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกัน( ลูกา 10:6)(มัทธิว 5:9) มีใจที่ปล่อยวาง หลุดพ้นจากความว้าวุ่นใจ หลีกเลี่ยงความรุนแรงทุกชนิด และเมื่อมีความขัดแย้ง เราต้องพร้อมที่จะคืนดีเสมอ( มัทธิว 5:24) การคืนดีเป็นผลจากการเคารพซึ่งกันและกัน และใจเปิดต่อการเสวนา

 

18. อภัย (Forgiveness)

พระเยซูสอนศิษย์ให้ภาวนาต่อพระบิดาเสมอๆ ว่า “โปรดอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนที่ข้าพเจ้าอภัยให้ผู้อื่นที่ทำผิดต่อข้าพเจ้า” (ลูกา 11:3-4) พระเยซูเล่านิทานของบิดาผู้ใจดีที่ให้อภัยแก่ลูกที่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติของบิดา (ลูกา 15:11-24) พระเยซูให้อภัยแก่ผู้ที่ตรึงพระองค์บนกางเขน (ลูกา23:34) การรู้จักให้อภัยผู้อื่นเกิดขึ้นได้เมื่อเรารู้จักเอาชนะความโกรธเคือง ความอาฆาตมาดร้ายทุกชนิด (มัทธิว 5: 22) การให้อภัยของเราต้องไม่มีขอบเขตเหมือนที่พระเจ้าให้อภัยแก่เราอย่างไม่มีขอบเขต (ลูกา 17:4)

 

19. ความเป็นหนึ่ง / ความเป็นชุมชน (Unity / Community)

พระเยซูสอนว่า มนุษย์ทุกคนเป็นพี่น้องกัน ทุกคนมีพระเจ้าเป็นพระบิดาองค์เดียวกัน (มัทธิว 6:9) (ยอห์น 10:30) ดังนั้น มนุษย์จึงต้องสร้างสังคมมนุษย์ให้น่าอยู่ มีความเป็นพี่เป็นน้องกัน(มาระโก 3:35) มีสายใยยึดเหนี่ยวกันอย่างมั่นคง (ยอห์น 15:12) ไม่ว่าเราจะอยู่ในหน่วยใดของสังคม ทั้งบ้าน โรงเรียน และท้องถิ่น เราต้องแสดงความเป็นเจ้าของ การมีส่วนร่วมในชีวิตของชุมชนนั้นๆ (ยอห์น 13:35)

 

20. การพิศเพ่งสิ่งสร้าง / รักษ์ธรรมชาติ (Wonder / Conservation)

พระเยซูสอนให้เรามองดูความสวยงามของธรรมชาติ ดวงดาวบนท้องฟ้า (ลูกา 10:20) นกที่บินในอากาศ (ลูกา 12:24) ดอกไม้ในทุ่งหญ้า (ลูกา 12:27) แล้วมองเห็นความยิ่งใหญ่ของพระผู้สร้างธรรมชาติ มองเห็นความน่าพิศวงของธรรมชาติ ที่ถูกสร้างมาเพื่อให้มนุษย์เอาใจใส่ดูแล(มัทธิว 11:27) เราจึงต้องหวงแหนธรรมชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พิทักษ์โลกของเราให้อนุชนรุ่นหลัง

 

21. ความหวัง (Hope)

ความหวังมีพื้นฐานอยู่บนคำสัญญาของพระเยซูว่า พระองค์มาเพื่อกอบกู้มนุษย์ทุกคน ให้ได้ความรอดพ้นจากบาป และมีชีวิตนิรันดร์ (ยอห์น 3:15; 6:40) ความหวังทำให้เรามีความอดทนพากเพียร และมั่นคงในความดี ความหวังยังทำให้เราคิดบวก มอโงลกในแง่ดี เราหวังในพระเจ้ามิใช่ในวัตถุ (ลูกา 6:35) (มัทธิว 12:21) ความหวังเป็นแรงบันดาลใจให้เรายึดมั่นในคุณค่าพระวรสารอื่นๆ ทั้งหมด

 

Link เพื่อแชร์ : https://bit.ly/3nRYH8w

 

ที่มา : หนังสือก้าวไปข้างหน้าด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก (หน้า60-65)

 

สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย(CECT)

www.catholic-education.or.th

 

ข่าวสารจากเลขาธิการฯ

บริษัท แมงโกสทีมส์ จำกัด นำเสนอ CodeMonkey
บริษัท แมงโกสทีมส์ จำกัด (บริษัทในเครือ iGroup) เข้าพบ คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม เลขาธิการสภาการศึกษาคาทอลิกฯ นำเสนอโครงการสนับสนุน โปรแกรม CodeMonkey โดย mangoSTEEMS Coding -โปรแกรมการเรียนรู้สนุกสนาน เข้าใจง่าย -บทเรียนเรียนตามลำดับการเรียนรู้ (linear Learning)...

โต๊ะจิตตาธิการฯ

จิตวิถีฟรังซิสแห่งซาลส์ ของนักการศึกษาคาทอลิก
จิตวิถีฟรังซิสแห่งซาลส์ ของนักการศึกษาคาทอลิก โรงเรียนสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารและจัดพิมพ์เป็น booklet ขนาด A5 ได้เลย <เอกสาร>

คณะกรรมการอำนวยการ

ประชุมเตรียม โครงการ Mission Possible (22-มี.ค.67)
วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2567 สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทยประชุมเตรียมโครงการ Mission Possible “เยาวชนก้าวเดินไปด้วยกันบนเส้นทางใหม่เพื่อเป็นความหวังของโลก” พระศาสนจักรคาทอลิก ภายใต้การนําของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้ประชาคมโลกก้าวไปด้วยกันในการเผชิญกับปัญหาร้ายแรงต่าง ๆ ของโลกใหม่และไม่รีรอที่จะหาวิธีแก้ปัญหาด้วยการร่วมแรงร่วมใจ โดยมีกระบวนการรับฟังกันและกัน และก้าวเดินไปด้วยกันในเส้นทางใหม่ในฐานะประชาชาติของเอเชีย เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการมองปัญหาสังคมในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย จากข้อมูลของ FABC 50 และหาทางแก้ไขปัญหาในมุมมองของพวกเขาเป็นการก้าวเดินไปกับเราเพื่อโลกที่ดีกว่าเดิม วัตถุประสงค์ 1. เยาวชนในสถานศึกษาคาทอลิกได้รับทราบถึงการประชุม Synod รับทราบถึงปัญหาและความท้าทายต่างๆ ในสังคม และมีโอกาสในการนําเสนอความคิดแก้ไขบางปัญหาดังกล่าวที่พบเห็นจนนําสู่การปฏิบัติได้จริง 2. เยาวชนได้เรียนรู้กระบวนการทํางานร่วมกัน...

คณะกรรมาธิการฝ่ายธรรมทูตและการศึกษาคาทอลิก

การประชุมคณะกรรมาธิการ ฝ่ายธรรมทูตและการศึกษาคาทอลิก ครั้งที่ 1/2567
26 มกราคม 2567 การประชุมคณะกรรมาธิการ ฝ่ายธรรมทูตและการศึกษาคาทอลิก ครั้งที่ 1/2567 ............................................ พระคุณเจ้ายอแซฟ ชูศักดิ์...

คณะกรรมการบริหาร

ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2567 (22-ม.ค.67)
วันจันทร์ที่ 22 มกราคม 2566 สภาการศึกษาคาทอลิกฯ จัดประชุมคณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2567 เวลา 10.00-12.00 น. พระคุณเจ้าวีระเดช ใจเสรี ประธานสภาการศึกษาคาทอลิกฯ นำภาวนาและเปิดประชุม คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม เลขาธิการสภาการศึกษาคาทอลิกฯ นำประชุม คณะกรรมการร่วมประชุม 10 ท่าน เพื่อรับทราบ -หลักสูตรคริสต์ศาสนาฉบับปรับปรุง - สมณสาส์น เลาดาเต เดอุม (Laudate Deum)...

สมาคมสโมสรลูกเสือรัตนโกสินทร์

การเสวนาเรื่อง
งานชุมนุมลูกเสือรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 10วันที่ 4 - 8 ธันวาคม ค.ศ. 2023 ณ...

สมาคมครูโรงเรียนคาทอลิกแห่งประเทศไทย

อบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ และการเปลี่ยนแปลง” (02-03-67)
เมื่อวันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 8.00 - 16.00 น. สมาคมครูโรงเรียนคาทอลิกแห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์พัฒนาจิตวิญญาณ และภาวะผู้นำเซเวียร์ ( SLDC ) Xavier Spiritual and Leadership Development Center จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ และการเปลี่ยนแปลง” โดยครูในสถานศึกษาเป็น ผู้ขับเคลื่อน การเรียนการสอน การทำงานกับผู้เรียน ซึ่งต้องสร้างแรงจูงใจ...

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก

ข่าวประชาสัมพันธ์ การอบรมเตรียมให้ความรู้ก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
ขอเชิญเข้าร่วมการอบรมเตรียมให้ความรู้ก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567 เรื่อง ขับเคลื่อนพันธสัญญาเรื่องการศึกษาด้วยการเรียนรู้โดยไตร่ตรองปฏิบัติ ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย วันที่ 6 พฤษภาคม 2567 Online ผ่านระบบ Zoom ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย กำหนดจัดอบรม Online เพื่อเตรียมเปิดปีการศึกษา โดย อาจารย์สุมิตรา พงศธร และ ดร.อนุพันธ์ กิจนิจชีวะ ซึ่งสาระจะเป็นการกระตุ้นเตือนถึงบทบาทหน้าที่ของครูโรงเรียนคาทอลิกในลักษณะองค์รวม โดยมีการเรียนรู้โดยไตร่ตรองปฏิบัติเป็นแกนหลักบนพื้นฐานของ Global Compact on...

ฝ่ายวิชาการ

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ศิลปะ ดนตรี นิทานและการเล่น เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF”
ฝ่ายวิชาการ สภาการศึกษาคาทอลิกฯ จัดอบรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ศิลปะ ดนตรี นิทานและการเล่น เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF” วันที่ 8-9 พฤษภาคม 2566 เวลา 8.30 - 16.00 น. ณ ศาลาไมเกิ้ลฮอลล์ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล บ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม มีผู้เข้าร่วม 30 โรงเรียน รวม 106...

E-Book หนังสือสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

0001jpg

อาร์ชบิชอปอันตน วีรเดช ใจเสรี
ประธานสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

Fr CECT

Gospel Vsjpg

 

ล่าสุดS 15786011

Poster สั่งซื้อคริสต์ 2024

2.Poster สั่งซื้อจริยะ 2024

BG 01

GCE Youtube2

ร่วมกันมองให้ไกล

1651822497272

รูปหนังสือสภาjpg

Youtube Logo

Facebook Logo

หน่วยงานสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกฯ

สถิติ (เริ่ม 01/01/2564)

1.png6.png4.png5.png6.png4.png6.png
Today25
Yesterday1027
This week2765
This month10042
Total1645646

Who Is Online

1
Online

Friday, 19 April 2024 00:43

สภาการศึกษาคาทอลิกฯ - Video Content!

More Videos - สภาการศึกษาคาทอลิกฯ