Catholic Education Council of Thailand

Article Index

สมัยรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลปัจจุบัน

     ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ค.ศ. 1925 - 1934(พ.ศ. 2468 - 2477) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ค.ศ. 1934- 1946 (พ.ศ. 2477 - 2489) ประเทศไทยประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก รัฐบาลจึงต้องประหยัดค่าใช้จ่ายการพัฒนาประเทศจึงเกิดภาวะหยุดชะงัก นอกจากนั้นยังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475ท่ามกลางสถานการณ์ของประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว การศึกษาคาทอลิกได้ขยายการจัดการทั้งในเมืองหลวงและในต่างจังหวัด เพราะจำนวนคาทอลิกเพิ่มขึ้น และชาวไทยตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษามากขึ้นด้วย ดังจะเห็นได้ว่า ภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรขยายกิจการโรงเรียนเพิ่มขึ้น มีโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ ที่สามเสนโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ที่กรุงเทพฯ และโรงเรียนเซนต์ปอล แผนกหญิงที่แปดริ้ว (ปัจจุบัน คือโรงเรียนเซนต์แอนโทนีฉะเชิงเทรา ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล ได้เปิดโรงเรียนที่สามเสน โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการโรงเรียนเซนต์ปอล แปดริ้ว (ปัจจุบันคือโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา) โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา เป็นต้น ส่วนบาทหลวงคณะซาเลเซียนซึ่งได้เดินทางเข้ามายังกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. 1927 (พ.ศ. 2470) เพื่อทำงานแพร่ธรรมและจัดการศึกษาอบรมเยาวชนด้านวิชาชีพ สังกัดอาชีวศึกษา ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก (Don Bosco) ในกรุงเทพฯ ต่อมาได้เปิดโรงเรียนเซนต์ดอมินิก (St. Dominic) ที่กรุงเทพฯ เช่นเดียวกัน เป็นโรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษา และยังได้ขยายโรงเรียนไปยังต่างจังหวัดด้วย เช่น โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย จังหวัดราชบุรี และโรงเรียนแสงทองวิทยาลัย จังหวัดสงขลา เป็นต้น

     นอกจากที่กล่าวมาแล้ว คณะภคินีและภราดาได้ตอบรับเชิญเข้ามาแพร่ธรรมและจัดการศึกษาเพิ่มขึ้นตามลำดับ เป็นต้นว่า ใน ค.ศ. 1931 (พ.ศ. 2474) คณะภคินีธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ เข้ามารับผิดชอบโรงเรียนนารีวุฒิ บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีโรงเรียนธิดานุเคราะห์ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ จังหวัดนครปฐมโรงเรียนเซนต์เมรี จังหวัดอุดรธานี โรงเรียนพระวิสุทธิวงศ์ และโรงเรียนอนุบาลมหาไถ่บ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

     ต่อมาในรัชกาลปัจจุบันบรรดาคณะภราดาและภคินีก็ยังเข้ามาทำงานและจัดการศึกษาในประเทศไทย ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เช่น ใน ค.ศ. 1951 (พ.ศ.2494)คณะภราดาลาซาล ได้จัดตั้งโรงเรียนลาซาลโชติรวี จังหวัดนครสวรรค์ โรงเรียนมารดาพิทักษ์ จังหวัดจันทบุรี โรงเรียนลาซาล บางนา กรุงเทพฯ และคณะภคินีลาซาลจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่บางนา กรุงเทพฯ ในปีเดียวกันนี้ คณะสงฆ์พระหฤทัยแห่งเบธาราม ได้เข้ามาทำงานอภิบาลและเผยแผ่ศาสนา ชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ และเปิดโรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษาแก่เด็กชาวไทยภูเขาและคนพื้นเมืองในภาคเหนือใน ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) คณะสงฆ์รอยแผลศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้าได้รับเชิญเข้ามาทำงานยังประเทศไทย รับผิดชอบโรงเรียนดาวรุ่งวิทยา จังหวัดภูเก็ต โรงเรียนศรีอรุโณทัยจังหวัดระนอง และโรงเรียนดรุโณทัย จังหวัดตรัง คณะสงฆ์เยสุอิต ซึ่งมีบทบาทสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้กลับเข้ามาทำงานแพร่ธรรมในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งใน 


     ค.ศ.1954 (พ.ศ.2497) รับผิดชอบงานอภิบาลนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและเป็นอาจารย์สอนตามมหาวิทยาลัย มีศูนย์กลางอยู่ที่ “บ้านเซเวียร์” กรุงเทพฯ และ “สวนเจ็ดริน” จังหวัดเชียงใหม่ในปี ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) ภคินีคณะพระกุมารเยซู ได้เดินทางกลับเข้ามาปฏิบัติงานอีกวาระหนึ่งหลังจากได้เลิกกิจการไปเมื่อ ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) และรับผิดชอบการศึกษา โรงเรียนพระกุมารเยซูวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนพาณิชยการเลขานุการ โรงเรียนมหาไถ่ศึกษา โรงเรียนแมรีอิมมาคูเล็ตคอนแวนต์ จังหวัดชลบุรี โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์จังหวัดชัยภูมิ และโรงเรียนมหาไถ่ศึกษา จังหวัดขอนแก่น ส่วนภคินีคณะรักกางเขนซึ่งเป็นนักบวชหญิงพื้นเมืองที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ดำเนินกิจการงานของโบสถ์ต่าง ๆ มีงานอบรมบ่มสอนเยาวสตรีและแม่บ้าน และรับผิดชอบจัดการศึกษาด้วยการเปิดโรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษาจำนวนมากทั้งในภาคตะวันออก (คณะภคินีรักกางเขนแห่งจันทบุรี) ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (คณะภคินีรักกางเขนแห่งอุบลราชธานี) และตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (คณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่) และยังช่วยกิจการโรงเรียนของสังฆมณฑลจันทบุรี สังฆมณฑลนครสวรรค์ สังฆมณฑลอุบลราชธานี อัครสังฆมณฑลท่าแร่ - หนองแสง และสังฆมณฑลอุดรธานี เป็นต้น ภคินีคณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ เป็นคณะนักบวชหญิงพื้นเมืองก่อตั้งขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ ในปี ค.ศ. 1900(พ.ศ.2443) รับผิดชอบกิจการงานของโบสถ์ต่างๆ อบรมเยาวสตรี แม่บ้าน และจัดการศึกษาในเขตภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้บางส่วน เช่น โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ กรุงเทพฯโรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง โรงเรียนพระหฤทัยสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และยังช่วยเหลือกิจการโรงเรียนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สังฆมณฑลเชียงใหม่ สังฆมณฑลราชบุรี สังฆมณฑลนครสวรรค์ เป็นต้น

     ภคินีคณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ เป็นคณะนักบวชหญิงพื้นเมืองก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2480 รับผิดชอบงานในเขตภาคใต้ของประเทศไทยด้านกิจการงานของโบสถ์ต่าง ๆ รวมทั้งอบรมเยาวสตรี แม่บ้าน และจัดการศึกษา รับผิดชอบจัดการศึกษาโรงเรียนธิดาแม่พระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงเรียนอนุบาลนิรมล จังหวัดชุมพร โรงเรียนนารีวิทยา จังหวัดราชบุรี โรงเรียนดรุณศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนถนอมศรีศึกษา จังหวัดยะลา และช่วยเหลือกิจการโรงเรียนของสังฆมณฑลราชบุรีและสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี เป็นต้น

     ภคินีคณะธิดาพระราชินีมาเรียผู้นิรมล เป็นคณะนักบวชหญิงพื้นเมืองก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2497 รับผิดชอบงานในเขตภาคกลางของประเทศไทย ด้านกิจการงานของโบสถ์สอนเยาวสตรี แม่บ้าน และจัดการศึกษา รับผิดชอบจัดการศึกษาโรงเรียนพระแม่มารีสาทร กรุงเทพฯ โรงเรียนพระแม่มารี สาธุประดิษฐ์ กรุงเทพฯ โรงเรียนพระแม่มารี พระโขนงกรุงเทพฯ โรงเรียนพระแม่มารี ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และช่วยเหลือกิจการโรงเรียนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สังฆมณฑลเชียงใหม่ และสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี


     นอกจากการจัดการศึกษาของมิชชันนารี คณะภคินีและภราดาจากต่างประเทศและคณะภคินี หรือนักบวชหญิงพื้นเมืองดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีโรงเรียนของสังฆมณฑลและโรงเรียนของฆราวาสคาทอลิกอีกเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้ว่า อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และสังฆมณฑลอีก 9 แห่ง คือ สังฆมณฑลจันทบุรี สังฆมณฑลเชียงใหม่ สังฆมณฑลนครสวรรค์ สังฆมณฑลราชบุรี สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี อัครสังฆมณฑลท่าแร่ - หนองแสงสังฆมณฑลอุบลราชธานี สังฆมณฑลนครราชสีมา และ สังฆมณฑลอุดรธานี รวมมีโรงเรียนในสังกัด 121 โรง ส่วนโรงเรียนฆราวาสคาทอลิกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 88 โรง เมื่อรวมกับโรงเรียนของคณะนักบวชที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจำนวน 98 โรง จึงสรุปได้ว่าโรงเรียนคาทอลิกในประเทศไทยในปีการศึกษา 2540 มีจำนวน 307 โรง

     กล่าวโดยสรุปการศึกษาคาทอลิกในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเป็นยุคที่เจริญเติบโตขึ้นมาก มีคณะนักบวชชาย - หญิง จากต่างประเทศได้รับเชิญเข้ามาช่วยจัดการศึกษาและงานแพร่ธรรมเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ในขณะเดียวกันคณะนักบวชพื้นเมืองก็เพิ่มจำนวน และมีความเข้มแข็งในการจัดการศึกษา นับเป็นการเพิ่มกำลังมาร่วมบริหารจัดการศึกษาได้ดีมีคุณภาพอย่างเห็นได้ชัด เป็นเหตุให้ผู้ปกครองเห็นคุณค่าของการศึกษาคาทอลิก จึงส่งบุตรธิดาเข้าเรียนมากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้เพราะเมื่อกล่าวถึงการศึกษาคาทอลิก ผู้ปกครองจะคิดถึงคุณภาพการศึกษา เน้นการปลูกฝังอบรมให้ผู้เรียนมีวินัย มีความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะในการเรียนภาษาต่างประเทศที่มีคุณภาพสูงเน้นการอบรมคุณธรรม จริยธรรม จึงกล่าวได้ว่า ปรัชญาการศึกษาคาทอลิกเน้นการพัฒนาคนให้เป็นคนดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม หลักสูตรการเรียนการสอนมีความเป็นสากลและสามารถปรับประยุกต์ใช้ได้กับคนต่างชาติต่างวัฒนธรรม และที่สำคัญที่สุดคือ เชื่อว่าครูเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา จึงให้ความสำคัญกับการผลิตและพัฒนาครู อบรมเรื่องจิตตารมณ์ครู และยกย่องให้เกียรติครู

ข่าวสารจากเลขาธิการฯ

บริษัท แมงโกสทีมส์ จำกัด นำเสนอ CodeMonkey
บริษัท แมงโกสทีมส์ จำกัด (บริษัทในเครือ iGroup) เข้าพบ คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม เลขาธิการสภาการศึกษาคาทอลิกฯ นำเสนอโครงการสนับสนุน โปรแกรม CodeMonkey โดย mangoSTEEMS Coding -โปรแกรมการเรียนรู้สนุกสนาน เข้าใจง่าย -บทเรียนเรียนตามลำดับการเรียนรู้ (linear Learning)...

โต๊ะจิตตาธิการฯ

จิตวิถีฟรังซิสแห่งซาลส์ ของนักการศึกษาคาทอลิก
จิตวิถีฟรังซิสแห่งซาลส์ ของนักการศึกษาคาทอลิก โรงเรียนสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารและจัดพิมพ์เป็น booklet ขนาด A5 ได้เลย <เอกสาร>

คณะกรรมการอำนวยการ

ประชุมเตรียม โครงการ Mission Possible (22-มี.ค.67)
วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2567 สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทยประชุมเตรียมโครงการ Mission Possible “เยาวชนก้าวเดินไปด้วยกันบนเส้นทางใหม่เพื่อเป็นความหวังของโลก” พระศาสนจักรคาทอลิก ภายใต้การนําของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้ประชาคมโลกก้าวไปด้วยกันในการเผชิญกับปัญหาร้ายแรงต่าง ๆ ของโลกใหม่และไม่รีรอที่จะหาวิธีแก้ปัญหาด้วยการร่วมแรงร่วมใจ โดยมีกระบวนการรับฟังกันและกัน และก้าวเดินไปด้วยกันในเส้นทางใหม่ในฐานะประชาชาติของเอเชีย เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการมองปัญหาสังคมในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย จากข้อมูลของ FABC 50 และหาทางแก้ไขปัญหาในมุมมองของพวกเขาเป็นการก้าวเดินไปกับเราเพื่อโลกที่ดีกว่าเดิม วัตถุประสงค์ 1. เยาวชนในสถานศึกษาคาทอลิกได้รับทราบถึงการประชุม Synod รับทราบถึงปัญหาและความท้าทายต่างๆ ในสังคม และมีโอกาสในการนําเสนอความคิดแก้ไขบางปัญหาดังกล่าวที่พบเห็นจนนําสู่การปฏิบัติได้จริง 2. เยาวชนได้เรียนรู้กระบวนการทํางานร่วมกัน...

คณะกรรมาธิการฝ่ายธรรมทูตและการศึกษาคาทอลิก

การประชุมคณะกรรมาธิการ ฝ่ายธรรมทูตและการศึกษาคาทอลิก ครั้งที่ 1/2567
26 มกราคม 2567 การประชุมคณะกรรมาธิการ ฝ่ายธรรมทูตและการศึกษาคาทอลิก ครั้งที่ 1/2567 ............................................ พระคุณเจ้ายอแซฟ ชูศักดิ์...

คณะกรรมการบริหาร

ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2567 (22-ม.ค.67)
วันจันทร์ที่ 22 มกราคม 2566 สภาการศึกษาคาทอลิกฯ จัดประชุมคณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2567 เวลา 10.00-12.00 น. พระคุณเจ้าวีระเดช ใจเสรี ประธานสภาการศึกษาคาทอลิกฯ นำภาวนาและเปิดประชุม คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม เลขาธิการสภาการศึกษาคาทอลิกฯ นำประชุม คณะกรรมการร่วมประชุม 10 ท่าน เพื่อรับทราบ -หลักสูตรคริสต์ศาสนาฉบับปรับปรุง - สมณสาส์น เลาดาเต เดอุม (Laudate Deum)...

สมาคมสโมสรลูกเสือรัตนโกสินทร์

การเสวนาเรื่อง
งานชุมนุมลูกเสือรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 10วันที่ 4 - 8 ธันวาคม ค.ศ. 2023 ณ...

สมาคมครูโรงเรียนคาทอลิกแห่งประเทศไทย

อบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ และการเปลี่ยนแปลง” (02-03-67)
เมื่อวันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 8.00 - 16.00 น. สมาคมครูโรงเรียนคาทอลิกแห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์พัฒนาจิตวิญญาณ และภาวะผู้นำเซเวียร์ ( SLDC ) Xavier Spiritual and Leadership Development Center จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ และการเปลี่ยนแปลง” โดยครูในสถานศึกษาเป็น ผู้ขับเคลื่อน การเรียนการสอน การทำงานกับผู้เรียน ซึ่งต้องสร้างแรงจูงใจ...

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก

ข่าวประชาสัมพันธ์ การอบรมเตรียมให้ความรู้ก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
ขอเชิญเข้าร่วมการอบรมเตรียมให้ความรู้ก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567 เรื่อง ขับเคลื่อนพันธสัญญาเรื่องการศึกษาด้วยการเรียนรู้โดยไตร่ตรองปฏิบัติ ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย วันที่ 6 พฤษภาคม 2567 Online ผ่านระบบ Zoom ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย กำหนดจัดอบรม Online เพื่อเตรียมเปิดปีการศึกษา โดย อาจารย์สุมิตรา พงศธร และ ดร.อนุพันธ์ กิจนิจชีวะ ซึ่งสาระจะเป็นการกระตุ้นเตือนถึงบทบาทหน้าที่ของครูโรงเรียนคาทอลิกในลักษณะองค์รวม โดยมีการเรียนรู้โดยไตร่ตรองปฏิบัติเป็นแกนหลักบนพื้นฐานของ Global Compact on...

ฝ่ายวิชาการ

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ศิลปะ ดนตรี นิทานและการเล่น เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF”
ฝ่ายวิชาการ สภาการศึกษาคาทอลิกฯ จัดอบรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ศิลปะ ดนตรี นิทานและการเล่น เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF” วันที่ 8-9 พฤษภาคม 2566 เวลา 8.30 - 16.00 น. ณ ศาลาไมเกิ้ลฮอลล์ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล บ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม มีผู้เข้าร่วม 30 โรงเรียน รวม 106...

E-Book หนังสือสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

0001jpg

อาร์ชบิชอปอันตน วีรเดช ใจเสรี
ประธานสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

Fr CECT

Gospel Vsjpg

 

ล่าสุดS 15786011

Poster สั่งซื้อคริสต์ 2024

2.Poster สั่งซื้อจริยะ 2024

BG 01

GCE Youtube2

ร่วมกันมองให้ไกล

1651822497272

รูปหนังสือสภาjpg

Youtube Logo

Facebook Logo

หน่วยงานสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกฯ

สถิติ (เริ่ม 01/01/2564)

1.png6.png4.png5.png5.png3.png4.png
Today940
Yesterday680
This week2653
This month9930
Total1645534

Who Is Online

1
Online

Thursday, 18 April 2024 21:07

สภาการศึกษาคาทอลิกฯ - Video Content!

More Videos - สภาการศึกษาคาทอลิกฯ