Catholic Education Council of Thailand

ชุมชน

ชุมชนการศึกษา

ความก้าวหน้าที่สำคัญของโรงเรียนคาทอลิก คือ การเปลี่ยนสถานะของตนจากการมีฐานะเป็นสถาบัน มามีฐานะเป็นชุมชน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในการประกาศพระวรสาร และการอบรมมนุษย์อย่างครบครันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโรงเรียน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโรงเรียน ซึ่งได้แก่ ครูผู้อำนวยการ และเจ้าหน้าที่ทางการศึกษาอื่น รวมถึง พ่อแม่ และนักเรียนสมาชิกของชุมชนโรงเรียน ยิ่งสามารถจะพัฒนาความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือ กันและกันด้วยจิตตารมณ์แห่งเสรีภาพและความรักตามพระวรสารมากขึ้นเท่าใด งานที่พวกเขาทำก็ยิ่งจะบรรลุผลได้มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น จึงควรเปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างสมาชิกเหล่านี้ การประชุมกันบ่อยๆ จะช่วยให้มีการสื่อสารกัน และความมุ่งมั่นที่จะถกเถียงปัญหาที่มีร่วมกัน ก็ยิ่งจะช่วยให้มีการสื่อสารกันมากขึ้น

มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 31-32, 39

 

บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายของชุมชนการศึกษาคาทอลิกได้สังเคราะห์และสรุปไว้เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

 

บทบาทของโรงเรียนกับครูโรงเรียนต่อครู

1. โรงเรียนเป็นที่พักใจของครู ด้วยการยกย่องและเชิดชูเกียรติ และให้ค่าตอบแทนสวัสดิการ และผลประโยชน์อื่นๆ แก่ครูและบุคลากร เพื่อให้มีความเป็นอยู่ในสังคมอย่างมีเกียรติและเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครู

2. โรงเรียนให้การอบรมและพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมเกี่ยวกับครู เพื่อให้เป็นครูที่มีคุณภาพ สามารถปฏิบัติภารกิจของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในงานอภิบาล โรงเรียนกระตุ้นให้ครูเป็นประจักษ์พยานถึงองค์พระคริสต์

 

ครูต่อโรงเรียน

1. ครูรับผิดชอบ เสียสละ และทุ่มเท ในการปฏิบัติหน้าที่ สอนด้วยการมีชีวิตเป็นประจักษ์พยาน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นประจักษ์พยานถึงองค์พระคริสต์ ทุ่มเทความรู้ความสามารถในการทำงาน อุทิศตน เสียสละ และรักษาจรรยาบรรณ

2. ครูร่วมมือ และทำงานเคียงคู่กับพระสงฆ์และนักบวช เพื่อปกป้อง พัฒนาพันธกิจ และสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในบรรยากาศการศึกษาคาทอลิก

3. ครูรัก ดูแล เอาใจใส่ ปกป้อง และสวดภาวนาให้นักเรียนเป็นรายบุคคล รวมทั้งกระตุ้น เสริมแรงให้นักเรียนรักในการปฏิบัติคุณธรรมอย่างต่อเนื่องและยังยืน

 

บทบาทของโรงเรียนกับพ่อแม่โรงเรียนต่อพ่อแม่

1. โรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน และการวางแผนการศึกษา และจัดให้มีเครือข่ายผู้ปกครอง

2. โรงเรียนจัดการประชุมเพื่อปลุกจิตสำนึกให้กับพ่อแม่ในการทำหน้าที่อบรมบุตรในฐานะครูคนแรกของลูกที่ไม่อาจทดแทนได้ และมีหน้าที่ในการติดตามเอาใจใส่ เพิ่มพูนความรู้ และคุณธรรมแก่ลูก และจัดศาสนกิจเพื่อให้พ่อแม่และนักเรียนมีโอกาสร่วมกัน และติดตามเยี่ยมเยียนครอบครัวอย่างใกล้ชิด

 

พ่อแม่ต่อโรงเรียน

1. พ่อแม่ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการพัฒนานักเรียนในทุกด้าน และสร้างบรรยากาศภายในครอบครัว ที่อบอุ่น เปี่ยมด้วยความรัก และความเชื่อต่อพระเจ้า

2. พ่อแม่ให้ความร่วมมือในการกำหนดเป้าหมาย และการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียน รวมทั้งเป็นวิทยากรให้กับโรงเรียน ประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน

3. พ่อแม่อบรมเลี้ยงดู ปลูกฝังคุณธรรม ให้การศึกษาแก่ลูก ให้รู้จักรักเพื่อนมนุษย์และพระเจ้า สร้างบรรยากาศในครอบครัวให้มีชีวิตชีวา เปี่ยมด้วยความเชื่อศรัทธาในศาสนาของตน

 

บทบาทของโรงเรียนต่อรัฐและชุมชน

1. โรงเรียนประสานและร่วมมือกับนโยบายของรัฐ และร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม บนจุดยืนของหลักการการศึกษาคาทอลิก

2. โรงเรียนเรียกร้องให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการจัดการศึกษาอย่างเหมาะสมและเพียงพอ และกำหนดทิศทางนโยบาย และมาตรฐานการศึกษาที่ชัดเจน ต่อเนื่อง และเป็นเอกภาพ

3. โรงเรียนสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน และเข้ามาร่วมมืออย่างสร้างสรรค์

4. โรงเรียนตระหนักในหน้าที่ที่เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และการพัฒนาชุมชน

5. โรงเรียนเผยแพร่การปฏิบัติงานของโรงเรียนต่อสาธารณชน สร้างจิตสำนึก ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวัฒนธรรมประเพณีไทย และสนับสนุนคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความยุติธรรมและสันติในสังคม

 

บทบาทของโรงเรียนกับพระศาสนจักรพระศาสนจักรต่อโรงเรียน

1. พระสังฆราชประจำท้องถิ่นสร้างความตระหนักให้กับพระสงฆ์ผู้รับผิดชอบการศึกษาของสังฆมณฑล และวิเคราะห์สมณสาสน์ด้านการศึกษาคาทอลิก

2. พระสงฆ์ นักบวช ฆราวาสผู้รับผิดชอบการศึกษาของโรงเรียนคาทอลิก ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนคาทอลิก

3. สภาการศึกษาคาทอลิกจัดการอบรม ครู บุคลากร และพ่อแม่เกี่ยวกับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก หน้าที่อภิบาลในโรงเรียน และการบูรณาการคุณค่าพระวรสารใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

4. สภาฯ ปรับข้อกำหนดเกี่ยวกับสมาชิก เพื่อส่งเสริมการรวมเป็นหนึ่งเดียวของโรงเรียนคาทอลิก โดยเห็นความสำคัญของโรงเรียนคาทอลิก และสร้างจุดยืนที่เด่นชัด

5. สภาฯ จัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างโรงเรียนคาทอลิกเป็นประจำ เพื่อการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน และสร้างระบบการติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ และประเมินผลเกี่ยวกับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก รวมทั้ง เสริมแรงโรงเรียนคาทอลิก โดยการประกาศเกียรติคุณแก่โรงเรียนและครูที่ดี

6. สภาฯ จัดทำคู่มือและแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนคาทอลิก เพื่อนำเสนอBest Practice และ นำเสนอพัฒนาการใหม่ๆ ทางการศึกษาคาทอลิก

7. สภาฯ เป็นผู้แทนโรงเรียนคาทอลิก ในการเรียกร้องสิทธิอันพึงได้จากรัฐ และปกป้องโรงเรียนคาทอลิกจากนโยบายรัฐที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาที่แท้จริง และนำเสนอกฎระเบียบใหม่ที่สนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียนคาทอลิก โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กและกลาง

 

โรงเรียนต่อพระศาสนจักร

1. โรงเรียนต้องซื่อสัตย์ต่ออัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก โดยเฉพาะในการทำหน้าที่ในการประกาศข่าวดีและงานอภิบาล

 

Link เพื่อแชร์ : https://1th.me/beyy1

ที่มา : หนังสือก้าวไปข้างหน้าด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก (หน้า23-28)

E-Book หนังสือสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

0001jpg

อาร์ชบิชอปอันตน วีรเดช ใจเสรี
ประธานสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

Fr CECT

Gospel Vsjpg

 

ล่าสุดS 15786011

Poster สั่งซื้อคริสต์ 2024

2.Poster สั่งซื้อจริยะ 2024

BG 01

GCE Youtube2

ร่วมกันมองให้ไกล

1651822497272

รูปหนังสือสภาjpg

Youtube Logo

Facebook Logo

หน่วยงานสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกฯ

สถิติ (เริ่ม 01/01/2564)

1.png6.png5.png1.png8.png7.png0.png
Today877
Yesterday1059
This week3681
This month16266
Total1651870

Who Is Online

4
Online

Thursday, 25 April 2024 14:23

สภาการศึกษาคาทอลิกฯ - Video Content!

More Videos - สภาการศึกษาคาทอลิกฯ