Catholic Education Council of Thailand

หลักเบื้องต้นของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

หลักการเบื้องต้นของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามอัตลักษณ์ศึกษาคาทอลิก

การศึกษาที่เป็นคาทอลิกมีศูนย์กลางที่พระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็น “หนทาง ความจริง และชีวิต” (ยอห์น 14:6) การศึกษาคาทอลิกจึงมีอัตลักษณ์ที่เด่นชัด บทความนี้ เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอหลักการเบื้องต้นของการจัดการศึกษาตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกให้ตรงตามเจตนารมณ์เป้าหมายของการศึกษาคือ การนำนักเรียนให้พัฒนาบุคลิกภาพ เพิ่มพูนวุฒิภาวะสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความหมาย มีจิตวิญญาณ จิตใจ สติปัญญา และร่างกายที่มีดุลยภาพ ผสมกลมกลืนกันในความเป็นมนุษย์แท้

ลักษณะพิเศษของการจัดการศึกษาที่มีพระเยซูคริสต์เป็นรากฐานนี้ ปรากฏเด่นชัดด้วยการบูรณาการวัฒนธรรมกับความเชื่อ และความเชื่อกับชีวิต การศึกษาคาทอลิก ครอบคลุมความใส่ใจใน 4 ด้าน คือ

1. บรรยากาศทางการศึกษา

2. การพัฒนาความเป็นมนุษย์ของนักเรียนเป็นรายบุคคล

3. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับข่าวดีของพระคริสต์

4. การให้ความกระจ่างความรู้ทั้งปวงด้วยแสงแห่งความเชื่อ

จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาของลักษณะพิเศษของการศึกษาคาทอลิก 4 ด้าน ซึ่งชี้นำโดยสมณสาสน์ต่างๆ จากสันตะสำนักอันเกี่ยวด้วยการศึกษาคาทอลิก และการฟังเสียงนักการศึกษา ผู้บริหารและครูของโรงเรียนคาทอลิกในประเทศไทยจำนวนกว่า 800 ท่านจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก” ที่จัดขึ้นในช่วงเวลา ตั้งแต่ตุลาคม ค.ศ. 2010 ถึงมิถุนายน ค.ศ. 2012 ซึ่งได้เพิ่มพูนความตระหนักถึงบริบทและสิ่งท้าทายการจัดการศึกษาในสังคมไทยปัจจุบัน อันนำไปสู่การนำเสนอหลักเบื้องต้นที่นำไปปฏิบัติได้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของการศึกษาคาทอลิกไว้ 10 ประการ ดังต่อไปนี้

 

1. มีพระคริสต์เป็นรากฐานของกิจกรรมทั้งปวง

พระเยซูคริสต์เป็นรากฐานของกิจกรรมการเรียนรู้ของการศึกษาคาทอลิกทั้งปวง การไขแสดงของพระองค์มอบความหมายใหม่แก่ชีวิต และช่วยให้มนุษย์กำกับความคิด การกระทำ และปณิธานตามหลักการพระวรสาร ทำให้วิถีแห่ง “บุญลาภ” เป็นบรรทัดฐานของชีวิต เช่นนี้แล้วโรงเรียนคาทอลิกจึงมีหลักการพระวรสารเป็นบรรทัดฐานทางการศึกษา (โรงเรียนคาทอลิก ข้อ 34)

การศึกษาคาทอลิกจึงนำคุณค่าพระวรสารมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนทุกสาระการเรียนรู้และทุกรายวิชา รวมทังมาเป็นแนวทางในการจัดบรรยากาศของโรงเรียนและการจัดกิจกรรมต่างๆ นอกจากคำสอนแล้ว การศึกษาคาทอลิกยังนำวิถีชีวิตของพระเยซูคริสต์ที่แสวงหาน้ำพระทัยของพระบิดาด้วยการมีเวลาเพื่อภาวนาฟังเสียงพระเจ้ามาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติภารกิจการมอบความรักของพระเจ้าแก่ผู้ที่ขัดสน เจ็บป่วย และรอโอกาส มาเป็นการปฏิบัติของโรงเรียนด้วย

 

2. มีจุดหมายทางการศึกษาที่จะหล่อหลอมให้นักเรียนมุ่งสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

การศึกษาคาทอลิก มีจุดหมายที่จะหล่อหลอมนักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ในทุกมิติ(โรงเรียนคาทอลิก ข้อ 26-27) ทั้งร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และจิตวิญญาณ ศาสนาคริสต์เชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามพระฉายาของพระเจ้า และทรงรักและรับมนุษย์เป็น บุตรของพระองค์มนุษย์ทุกคนจึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนให้เป็นผู้มีเหตุผล ใช้สติปัญญาเพื่อการเรียนรู้ เพื่อสร้างความมีคุณธรรมและพัฒนามโนธรรมสู่ความบริบูรณ์ในฐานะบุตรพระเจ้า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความสามารถด้านต่างๆ ที่พระเจ้าประทานให้มีอยู่ในตน ซึ่งสามารถพัฒนาให้ปรากฎได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป จนบรรลุถึงความเป็นมนุษย์แท้ที่มีคุณค่า มีความรับผิดชอบ รู้จักควบคุมตนจากภายในและมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกและปฎิบัติได้อย่างอิสระและสอดคล้องกับมโนธรรมของตนที่ได้รับการหล่อหลอมขึ้นจากการศึกษาที่มีคุณภาพ (โรงเรียนคาทอลิก ข้อ 31 และ มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 99)

การศึกษาเป็นการเดินทางของนักเรียน เป็นกระบวนการของการค้นพบที่เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆเกิดการเรียนรู้ที่ใหม่กว่า กระจ่างแจ้งกว่าต่อไปโดยไม่มีสิ้นสุด เพื่ออยู่ในเส้นทางที่นำสู่การบรรลุถึงความจริงที่เที่ยงแท้

 

3. มุ่งพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล

การศึกษาคาทอลิกให้ความสำคัญต่อธรรมชาติของการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละบุคคลซึ่งแตกต่างกัน ดังนั้น การจัดการศึกษาจึงต้องคำนึงถึงศักยภาพทางร่างกาย สติปัญญาและจิตใจของนักเรียนแต่ละคนตามบริบทของเขา รวมถึงกระแสเรียกของแต่ละคนด้วย (มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 63)

การศึกษาคาทอลิกมีนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้ให้การศึกษาจึงควรเริ่มต้นที่การยอมรับและให้ความเคารพนักเรียนอย่างที่เขาเป็นก่อน แล้วจึงวางแผนจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายในหมู่นักเรียน เพื่อให้ใช้กระบวนการที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน อันจะทำให้นักเรียนเชื่อมั่นในความสามารถของตน พบ และเห็นคุณค่าของสิ่งทีเขาเป็นและสามารถทำได้

 

4. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน

การเป็นมนุษย์ คือ การได้รับพระพรแห่งสติปัญญาและอิสรภาพ การศึกษาย่อมไม่ใช่การศึกษาที่แท้จริง หากนักเรียนไม่มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันและอย่างสมัครใจในการเรียนรู้ของตนนักเรียนควรได้รับการสนับสนุนให้เรียนรู้ด้วยการลงมือทำและตอบสนองด้วยสติปัญญา ความมุ่งมั่น และอารมณ์อันละเอียดอ่อน (มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 105) การศึกษาคาทอลิกควรให้ความสำคัญกับการศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Co-operative Learning)กล่าวคือ ให้นักเรียนร่วมกันเรียนรู้ด้วยความกระตือรือร้น ทั้งของแต่ละบุคคลและรวมพลังเป็นกลุ่ม— เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียน การค้นคว้า การทำแบบฝึกหัด กิจกรรมนอกหลักสูตร กิจกรรมกลุ่ม การสอบ การประชุมในชั้นเรียนและการประชุมใหญ่ของโรงเรียน (มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 47)

นักเรียนควรได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมอย่างสมัครใจ ในการพัฒนาเป้าหมายทางการเรียนการสอน กระบวนการการเรียนรู้ และได้รับความไว้วางใจที่จะรับมอบหมายให้รับผิดชอบร่วมกันที่จะทำงานจนบรรลุเป้าหมายร่วม เพื่อให้เกิดความภูมิใจในการเรียนรู้ของตนเองของกลุ่มและเจริญเติมโตขึ้นสู่การมีวุฒิภาวะ (มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 106)

 

 5. มุ่งให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความจริง และเข้าถึงคุณค่าอย่างเป็นองค์รวม

แสงแห่งความเชื่อคริสตชนกระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับมนุษย์โลกและจักรวาล ในฐานะที่เป็นสิ่งสร้างของพระเจ้า และปลุกเร้าให้เกิดความรักในความจริงและไม่พึงพอใจเพียงความรู้อันผิวเผินเท่านั้น( มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 49)

 

การศึกษาคาทอลิกมุ่งให้นักเรียนแสวงหาและเรียนรู้เพื่อเข้าถึงความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ โลก

และจักรวาล ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานความเชื่อว่า มนุษย์ โลกและสิ่งสร้างทั้งมวลมาจากพระเจ้า สาระ

ของความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ โลกและจักรวาลมีอยู่แล้วและมิได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ความรู้

และความเข้าใจของมนุษย์ในความจริงนี้กระจ่างแจ้งขึ้นตามกาลเวลา จากการสังเกต การค้นคว้า

แสวงหาและประสบการณ์ของมนุษย์ที่สะสมอย่างเป็นระบบ และเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 

ด้วยแสงแห่งความเชื่อทีว่า พระเจ้าทรงสร้างและมอบให้มนุษย์เป็นผู้ครอบครอง และดูแล

โลกและสิ่งสร้างอื่นทั้งปวง มนุษย์จึงมีหน้าที่ที่จะต้องศึกษา ค้นคว้า และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ

ของโลกและจักรวาล เพื่อมนุษย์จะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับสิ่ง สร้างทั้งหลายได้อย่างให้ความเคารพ

ทะนุถนอม และสร้างสังคมที่ดีกว่าให้แก่ชนรุ่นหลัง และเพื่อประโยชน์แก่สังคมโดยรวม

 

เป้าหมายของการสอนแต่ละวิชามิได้อยู่ที่เพียงทำให้นักเรียนได้รับความรู้ แต่ยังให้นักเรียน

ค้นพบความจริงและเข้าใจในคุณค่าของความจริงนั้น โดยอาศัยประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบ

ต่างๆ (โรงเรียนคาทอลิก ข้อ 39) เนื้อหาสาระของวิชาต่างๆ ต้องไม่ได้รับการนำเสนอเป็นเพียง

ข้อมูลความรู้เท่านั้น แต่ยังต้องช่วยให้นักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถและวิจารณญาณใน

การวินิจฉัยว่า สิ่งใดมีคุณค่า สิ่งใดจริง สิ่งใดเท็จ และสามารถเลือกอย่างมีคุณค่าจากการวินิจฉัย

ดังกล่าว (มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 57)

 

นักเรียนควรได้รับการสอนให้สามารถรู้ถึงและใช้ประโยชน์จากกรอบแนวคิดที่เป็นระบบ

ระเบียบที่ถูกพัฒนาขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการแสวงหาความจริง ทั้ง ด้วย

กรอบแนวคิดเชิงนิรนัย (Deduction) และเชิงอุปนัย (Induction)

 

การศึกษาคาทอลิกมุ่งที่จะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการแสวงหาและค้นพบความ

จริง จนสามารถค้นพบความหมาย และสัจธรรมด้วยประสบการณ์ของตน (โรงเรียนคาทอลิก ข้อ

27) ไม่ใช่เพียงรู้และรับทราบในความรู้ที่มีอยู่แล้ว กรอบแนวคิดแบบอุปนัย (Induction) เน้นการ

สะสมองค์ความรู้โดยการค่อยๆ ปะติดปะต่อส่วนที่ยังไม่รู้ให้เพิ่มขึ้นจนก่อให้เกิดความรู้ทีแท้จริง

อย่างมีคุณค่าและเป็นองค์รวม

 

Link เพื่อแชร์ : https://1th.me/0X5vg


ที่มา : หนังสือก้าวไปข้างหน้าด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก (หน้า28-32)

E-Book หนังสือสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

0001jpg

อาร์ชบิชอปอันตน วีรเดช ใจเสรี
ประธานสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

Fr CECT

Gospel Vsjpg

 

ล่าสุดS 15786011

Poster สั่งซื้อคริสต์ 2024

2.Poster สั่งซื้อจริยะ 2024

BG 01

GCE Youtube2

ร่วมกันมองให้ไกล

1651822497272

รูปหนังสือสภาjpg

Youtube Logo

Facebook Logo

หน่วยงานสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกฯ

สถิติ (เริ่ม 01/01/2564)

1.png6.png3.png2.png9.png1.png0.png
Today832
Yesterday1037
This week3502
This month19601
Total1632910

Who Is Online

2
Online

Thursday, 28 March 2024 13:40

สภาการศึกษาคาทอลิกฯ - Video Content!

More Videos - สภาการศึกษาคาทอลิกฯ