Catholic Education Council of Thailand

Article Index

สมัยรัชกาลที่ 5 และที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ค.ศ. 1868-1910 (พ.ศ. 2411 -2453) ได้เสด็จประพาสยุโรป และทรงนำประสบการณ์จากการเสด็จประพาสกลับมาพัฒนาประเทศสยามในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานตะวันตก จึงทรงสนับสนุนให้บาทหลวงคาทอลิกเปิดโรงเรียน ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนั้น พระสังฆราชเวย์ (Vey) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสังฆราช ช่วง ค.ศ. 1875 - 1909 (พ.ศ. 2418 - 2452) ท่านเน้นความสำคัญของการจัดการศึกษาที่ดี มีคุณภาพ เพื่ออบรมสั่งสอนให้เยาวชนเป็นคนดีมีคุณธรรม อีกทั้งท่านยังเห็นว่า ชาวยุโรปที่พำนักอยู่ในสยามมีจำนวนเพิ่มขึ้น เพราะย้ายเข้ามาอยู่กับครอบครัว และมีปัญหาเรื่องการศึกษาของบุตรหลาน จึงจัดตั้งสถาบันการศึกษาแบบยุโรป เพื่ออบรมสั่งสอนลูกหลานชาวยุโรป และรวมถึงลูกหลานชาวสยามที่ร่ำรวยด้วยโดยแสวงหาครูซึ่งสามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศที่ใช้มากที่สุดในขณะนั้น และสามารถสอนเป็นภาษาฝรั่งเศสด้วย สถาบันการศึกษาในลักษณะดังกล่าวคือ :-

     โรงเรียนอัสสัมชัญ บาทหลวงกอลมเบต์ (Colombet) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสโบสถ์อัสสัมชัญอยู่ในขณะนั้นได้จัดตั้งโรงเรียนประจำโบสถ์ โดยใช้อาคารบ้านเณร ซึ่งอยู่ติดกับโบสถ์เป็นสถานศึกษา ต่อมาด้วยเหตุที่ท่านเห็นความสำคัญของการศึกษาและต้องการให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาอย่างดี พร้อมทั้งได้รับความเห็นชอบจากพระสังฆราชเวย์จึงจัดตั้งวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption College) ขึ้นใน ค.ศ. 1885 (พ.ศ. 2428) แทนโรงเรียนประจำโบสถ์เดิม โดยจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาไทยภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ เปิดรับเด็กชายทั่วไปในพระนคร วันแรกที่เปิดเรียนมีนักเรียนเพียง 33 คน ตอนสิ้นปีแรกนักเรียนเพิ่มเป็น 80 คน และเพิ่มขึ้นตามลำดับ มีครูชาวอังกฤษและครูไทยเป็นผู้สอนร่วมกับมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส นักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนอัสสัมชัญ ระยะแรกเป็นคริสตังจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง และเป็นลูกครึ่งยุโรปส่วนที่เหลือมาจากครอบครัวผู้มีอันจะกิน หรือลูกชายครอบครัวชาวสยามที่มาจากตระกูลเก่าแก่

     โรงเรียนสตรีอำนวยการสอนโดยภคินีคณะพระกุมารเยซู ขณะเดียวกันกับการเปิดโรงเรียนอัสสัมชัญ พระสังฆราชเวย์ได้แสวงหาหนทางเปิดโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงลูกหลานชาวยุโรป จึงติดต่อคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร (St. Paul de Chartres) ที่ไซ่ง่อนแต่ขณะนั้นคณะภคินีไม่ว่าง เพราะเกิดสงครามตังเกี๋ย ฝรั่งเศสขอให้บรรดาภคินีไปช่วยพยาบาลทหารที่ได้รับบาดเจ็บ จึงได้ขอให้ภคินีคณะพระกุมารเยซู (Holy Infant Jesus) หรือคณะแซงต์ มอร์ (St. Maur) ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ที่สิงคโปร์มาช่วย โรงเรียนจึงเปิดดำเนินการในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1885 (พ.ศ. 2428) มีคุณแม่เฮเลน เป็นอธิการเมื่อโรงเรียนเริ่มเปิดกิจการ มีนักเรียน 20 คน เป็นลูกหลานชาวยุโรปทั้งสิ้น สามปีต่อมามีนักเรียน 82 คน เป็นลูกหลานชาวยุโรปและชาวจีน ยังไม่มีลูกหลานชาวสยามมาเรียนสิบปีต่อมาลูกหลานชาวสยามจึงเริ่มเข้ามาเรียนกันบ้าง และในที่สุดลูกหลานชาวสยามก็ได้รับประโยชน์จากโรงเรียนอย่างเต็มที่


     ภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร และโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์เมื่อพระสังฆราชเวย์ติดต่อขอภคินีมาทำงานในโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงนั้นท่านยังต้องการให้ภคินีทำงานในโรงพยาบาลที่มิสซังมีโครงการเปิดด้วย และให้ภคินีทำงานในโรงเรียนและโรงพยาบาลเป็นสมาชิกคณะเดียวกัน จึงให้ภคินีคณะพระกุมารเยซู ดูแลโรงพยาบาลด้วย แต่ไม่นานหลังจากนั้นคณะพระกุมารเยซูถอนตัวไป พระสังฆราชเวย์จึงขอให้ภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร มาดูแลโรงพยาบาล และบริหารสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าชาวยุโรปที่ตั้งอยู่ใกล้โบสถ์อัสสัมชัญและนักเรียนประจำของโรงเรียน ภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรกลุ่มแรกเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ใน ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441) พร้อมอธิการิณี และในปีเดียวกันนั้นก็มีพิธีเปิดโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ อย่างเป็นทางการ

     ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล (St. Gabriel) พระสังฆราชเวย์ ต้องการให้มิชชันนารีและบาทหลวงทุกองค์ทำงานอภิบาลคริสตชน และทำงานเผยแผ่ศาสนากับคนต่างศาสนา ดังนั้นมิสซังจึงไม่สามารถรับผิดชอบโรงเรียนอัสสัมชัญได้อีกต่อไป บาทหลวงกอลมเบต์จึงเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศสเพื่อติดต่ออธิการคณะเซนต์คาเบรียล ในที่สุดภราดาหลุยส์จากไซ่ง่อน จึงเดินทางเข้ามายังกรุงเทพฯ ใน ค.ศ. 1900 (พ.ศ. 2443) เพื่อบริหารโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งประกอบด้วยแผนกนักเรียนไป - กลับ แผนกนักเรียนประจำ และแผนกเด็กกำพร้า

     โรงเรียนของภราดาและภคินี รวมทั้งโรงเรียนของโปรเตสแตนต์ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพราะประเทศสยามในช่วงระยะนั้นต้องการการศึกษาเป็นอย่างมากพระมหากษัตริย์ไทยในขณะนั้นทรงตระหนักดีว่าชาวตะวันตกได้เปรียบเพราะระดับการศึกษาของพวกเขา ใน ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2427) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งโรงเรียนสำหรับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก โรงเรียนอีกหลายแห่งจึงเริ่มเปิดขึ้นตามความสามารถของรัฐบาล

     โรงเรียนของภคินีคณะอุร์สุลิน (Ursuline) เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญซึ่งบริหารโดยภราดาคณะเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ บริหารโดยภคินีคณะเซนต์ปอลเดอ ชาร์ตร ได้รับความนิยมในด้านการฝึกอบรมเป็นอย่างมาก จนมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พระสังฆราชแปร์รอส (Rene' Marie Joseph Perros) ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆราชใน ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) เห็นว่าภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้หมด จึงติดต่ออธิการิณีคณะอุร์สุลิน (Ursuline) เพื่อขอให้ส่งภคินีมาสอนในโรงเรียน ในที่สุดภคินี 4 ท่านจากยุโรปเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในช่วงสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) และรับหน้าที่ดูแลโรงเรียนที่วัดกาลหว่าร์ (Calvary Church)ภคินีคณะอุร์สุลินเริ่มทำงานแพร่ธรรมและรับผิดชอบงานอภิบาลเด็กหญิงในประเทศสยามตั้งแต่บัดนั้น เริ่มที่โรงเรียนกุหลาบวัฒนาและเปิดโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ค.ศ. 1928(พ.ศ. 2471) โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย ที่จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนวาสุเทวี นอกจากนี้โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยยังได้มีโอกาสถวายการศึกษาในระดับปฐมวัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ข่าวสารจากเลขาธิการฯ

การประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทาง (25-04-67)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 09.30-12.00 น. การประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทาง (คณะกรรมการบริหารโครงการ) โดย บาทหลวงไพรัช ศรีประเสริฐ ผู้รับผิดชอบโครงการและเลขาธิการกรรมาธิการฝ่ายสังคม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยประชุมร่วมกันทั้ง onsite & online เพื่อการขับเคลื่อนงานในงวดที่ 2 ระหว่างวันที่...

โต๊ะจิตตาธิการฯ

จิตวิถีฟรังซิสแห่งซาลส์ ของนักการศึกษาคาทอลิก
จิตวิถีฟรังซิสแห่งซาลส์ ของนักการศึกษาคาทอลิก โรงเรียนสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารและจัดพิมพ์เป็น booklet ขนาด A5 ได้เลย <เอกสาร>

คณะกรรมการอำนวยการ

ประชุมเตรียม โครงการ Mission Possible (25-เม.ย.67)
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทยประชุมเตรียมโครงการ Mission Possible “เยาวชนก้าวเดินไปด้วยกันบนเส้นทางใหม่เพื่อเป็นความหวังของโลก” พระศาสนจักรคาทอลิก ภายใต้การนําของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้ประชาคมโลกก้าวไปด้วยกันในการเผชิญกับปัญหาร้ายแรงต่าง ๆ ของโลกใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการมองปัญหาสังคมในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย จากข้อมูลของ FABC 50 และหาทางแก้ไขปัญหาในมุมมองของพวกเขาเป็นการก้าวเดินไปกับเราเพื่อโลกที่ดีกว่าเดิม วัตถุประสงค์ 1. เยาวชนในสถานศึกษาคาทอลิกได้รับทราบถึงการประชุม Synod รับทราบถึงปัญหาและความท้าทายต่างๆ ในสังคม และมีโอกาสในการนําเสนอความคิดแก้ไขบางปัญหาดังกล่าวที่พบเห็นจนนําสู่การปฏิบัติได้จริง 2. เยาวชนได้เรียนรู้กระบวนการทํางานร่วมกัน และเข้าถึงปัญหาอย่างลึกซึ้งมากขึ้น 3....

คณะกรรมาธิการฝ่ายธรรมทูตและการศึกษาคาทอลิก

การประชุมคณะกรรมาธิการฝ่ายธรรมทูตและการศึกษาคาทอลิก(25-04-67)
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 09.30-12.00 น. ณ ห้องอภิบาล โรงเรียนเซนต์โยเซฟ...

คณะกรรมการบริหาร

ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2567 (22-ม.ค.67)
วันจันทร์ที่ 22 มกราคม 2566 สภาการศึกษาคาทอลิกฯ จัดประชุมคณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2567 เวลา 10.00-12.00 น. พระคุณเจ้าวีระเดช ใจเสรี ประธานสภาการศึกษาคาทอลิกฯ นำภาวนาและเปิดประชุม คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม เลขาธิการสภาการศึกษาคาทอลิกฯ นำประชุม คณะกรรมการร่วมประชุม 10 ท่าน เพื่อรับทราบ -หลักสูตรคริสต์ศาสนาฉบับปรับปรุง - สมณสาส์น เลาดาเต เดอุม (Laudate Deum)...

สมาคมสโมสรลูกเสือรัตนโกสินทร์

การเสวนาเรื่อง
งานชุมนุมลูกเสือรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 10วันที่ 4 - 8 ธันวาคม ค.ศ. 2023 ณ...

สมาคมครูโรงเรียนคาทอลิกแห่งประเทศไทย

อบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ และการเปลี่ยนแปลง” (02-03-67)
เมื่อวันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 8.00 - 16.00 น. สมาคมครูโรงเรียนคาทอลิกแห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์พัฒนาจิตวิญญาณ และภาวะผู้นำเซเวียร์ ( SLDC ) Xavier Spiritual and Leadership Development Center จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ และการเปลี่ยนแปลง” โดยครูในสถานศึกษาเป็น ผู้ขับเคลื่อน การเรียนการสอน การทำงานกับผู้เรียน ซึ่งต้องสร้างแรงจูงใจ...

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก

ข่าวประชาสัมพันธ์ การอบรมเตรียมให้ความรู้ก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
ขอเชิญเข้าร่วมการอบรมเตรียมให้ความรู้ก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567 เรื่อง ขับเคลื่อนพันธสัญญาเรื่องการศึกษาด้วยการเรียนรู้โดยไตร่ตรองปฏิบัติ ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย วันที่ 6 พฤษภาคม 2567 Online ผ่านระบบ Zoom ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย กำหนดจัดอบรม Online เพื่อเตรียมเปิดปีการศึกษา โดย อาจารย์สุมิตรา พงศธร และ ดร.อนุพันธ์ กิจนิจชีวะ ซึ่งสาระจะเป็นการกระตุ้นเตือนถึงบทบาทหน้าที่ของครูโรงเรียนคาทอลิกในลักษณะองค์รวม โดยมีการเรียนรู้โดยไตร่ตรองปฏิบัติเป็นแกนหลักบนพื้นฐานของ Global Compact on...

ฝ่ายวิชาการ

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ศิลปะ ดนตรี นิทานและการเล่น เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF”
ฝ่ายวิชาการ สภาการศึกษาคาทอลิกฯ จัดอบรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ศิลปะ ดนตรี นิทานและการเล่น เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF” วันที่ 8-9 พฤษภาคม 2566 เวลา 8.30 - 16.00 น. ณ ศาลาไมเกิ้ลฮอลล์ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล บ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม มีผู้เข้าร่วม 30 โรงเรียน รวม 106...

E-Book หนังสือสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

0001jpg

อาร์ชบิชอปอันตน วีรเดช ใจเสรี
ประธานสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

Fr CECT

Gospel Vsjpg

 

ล่าสุดS 15786011

Poster สั่งซื้อคริสต์ 2024

2.Poster สั่งซื้อจริยะ 2024

BG 01

GCE Youtube2

ร่วมกันมองให้ไกล

1651822497272

รูปหนังสือสภาjpg

Youtube Logo

Facebook Logo

หน่วยงานสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกฯ

สถิติ (เริ่ม 01/01/2564)

1.png6.png5.png4.png2.png7.png9.png
Today1744
Yesterday1542
This week6090
This month18675
Total1654279

Who Is Online

1
Online

Friday, 26 April 2024 23:09

สภาการศึกษาคาทอลิกฯ - Video Content!

More Videos - สภาการศึกษาคาทอลิกฯ