ในห้องเรียนที่ครูเป็นผู้ควบคุมการสอนนั้น ไม่ว่าครูจะมีความรู้ และความเชี่ยวชาญ สักเพียงใด แต่กระบวนการเรียนการสอนของครูอาจไม่พัฒนาไม่มีการปรับเปลี่ยน นักเรียนขาดโอกาสที่จะใช้ความคิดอย่างเต็มกำลังแม้ในห้องจะมีแสงสว่างเพียงพอสำหรับครูและนักเรียนหากเปรียบเสมือนครูสอนที่อยู่ในที่มืด เพราะบางครั้งครูอาจเจอคำถามที่ไม่สามารถตอบได้อย่างกระจ่างชัด หรือประสบกับสถานการณ์ที่ไม่ได้คาดฝัน รู้สึกว่าผู้เรียนไม่ได้พัฒนาอย่างที่คาดหวังเกิดความไม่มั่นใจในการสอน อาจรู้สึกโดดเดี่ยวและปรารถนาจะมีเพื่อน มีผู้รับรู้ สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการไตร่ตรอง ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนคาทอลิกในประเทศไทยเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากโครงสร้างของการเรียนรู้อยู่บนพื้นฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการทดลองและการทดสอบ ประกอบด้วยกระบวนการนำเสนอ การเพิ่มคุณค่าของเนื้อหา การแบ่งปันประสบการณ์ การปลูกฝังให้ผู้สอนและผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เหนือสิ่งอื่นใดทำให้ครู ตระหนักถึงความสำคัญของการไตร่ตรองในขณะทำการสอน (reflection in action) และการไตร่ตรองการสอนที่ผ่านไป (reflection on action) รวมทั้งกระบวนทัศน์วิธีการสอนแบบของนักบุญอิกญาซีโอซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกับการใคร่ครวญไตร่ตรองและถ่ายทอดด้วยความรักความเมตตาซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้บรรลุถึงประสิทธิผลและสัมฤทธิผลที่สามารถวัดและประเมินได้เท่านั้น ทว่ายังก่อให้เกิดการปรับปรุง ปรับเปลี่ยนการสอนของครู การเรียนของนักเรียน การปรับมุมมองและกระบวนทัศน์ของทั้งสองฝ่าย ขอโมทนาคุณพระเจ้าที่ทําให้คุณครูได้มีโอกาสร่วมกันวินิจฉัยไตร่ตรอง เพื่อยกระดับ มาตรฐานการเรียนการสอนของเราและสำรวจชีวิตของตนเอง เพื่อก้าวสู่มิติกว้างไกลที่เจิดจ้าด้วย “แสงสว่างของทางเลือกใหม่ในการจัดการเรียนรู้” ขอขอบคุณสภาการศึกษาคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย คุณพ่อเดชา อาภรณ์รัตน์และอาจารย์สุมิตรา พงศธร ที่นำการไตร่ตรองมาสู่ชีวิตของครูโรงเรียน ในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ขอขอบคุณ คุณพ่อเฉลิม กิจมงคล อาจารย์อนุพันธ์ กิจนิจชีวะ และอาจารย์พงษ์นรินทร์ รัตนรังสิกุล ที่เสียสละเวลาเป็นวิทยากรในการสัมมนาที่ผ่านไป ขอพระเป็นเจ้าโปรดประทานพระพรแห่งปรีชาญาณแก่ทุกท่าน และขอพระเจ้าอวยพร
เซอร์วาเลนติน มุ่งหมาย
30 มีนาคม 2016